ประโยชน์ของ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน

CarMarket 0 Comments กันยายน 1, 2022
ประโยชน์ของ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน

เชื่อว่าคนที่มีรถทุกคนต้องรู้จัก พ.ร.บ. แต่คงไม่รู้จักดีพอว่ามันมีประโยชน์ต่อตัวผู้ขับขี่แค่ไหน รู้แค่ว่าต้องซื้อทุกปี เพราะหากไม่ซื้อจะนำรถไปต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้ จริงๆแล้วประโยชน์ของ พ.ร.บ. ไม่ได้มีแค่ซื้อไว้นำไปต่อภาษีรถเท่านั้น ประโยชน์ของมันยังมีอีกมาก วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับประโยชน์ของ พ.ร.บ.กันค่ะ

พ.ร.บ.คืออะไร?

พ.ร.บ. หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) เป็นการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เมษายน 2536 โดยกำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ต้องทำประกันภัยภาคบังคับตาม พ.ร.บ 

ประโยชน์ของ พ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance) เป็นการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เมษายน 2536 โดยกำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ทุกคัน ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก และรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ต้องทำประกันภัยภาคบังคับตาม พ.ร.บ 

การทำ พ.ร.บ.จะช่วยคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์ โดยให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกคนที่ประสบเหตุจากรถยนต์ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า ฯลฯ รวมไปถึงหากเกิดความเสียหายถึงชีวิต ทรัพย์สิน ก็จะได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ พ.ร.บ.ยังถือเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาลอีกด้วยว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลจากผู้ที่ประสบเหตุจากรถยนต์ หรือที่เรียกว่า สวัสดิการสงเคราะห์ของรัฐบาลที่มอบให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหายและครอบครัว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน พูดง่ายๆก็คือเหมือนเราซื้อประกันความคุ้มครองอุบัติเหตุแบบภาคบังคับนั่นเอง
ความคุ้มครองเมื่อเราทำ พ.ร.บ. แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1.ความคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น 
หลังจากเกิดเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ จะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ค่าเสียหายในกรณีทุพพลภาพ และเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด โดยบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องขอให้บริษัทชดเชยในความเสียหายจากผู้ประสบภัย ดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ
    ผู้ประสบภัยจะได้รับชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร  
    หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต 
    ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน

2. ความคุ้มครองค่าสินไหมทดแทน
หลังจากที่พิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ดังนี้

  • กรณีได้รับบาดเจ็บ
    ผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง (มีหลักฐานการชำระเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน) แต่ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต
    ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร
    ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าทดแทนเป็นจำนวนเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 – 500,000 บาท/คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดที่สูญเสียอวัยวะและเงื่อนไขอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  •  ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน ภายในสถานพยาบาล
    ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าชดเชยรายวันๆละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน

โทษในการไม่ทำ พ.ร.บ.

การทำ พ.ร.บ. อย่างที่บอกว่าเป็นการทำประกันภาคบังคับ หากไม่ทำ พ.ร.บ. แน่นอนว่าต้องผิดกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งก็จะมีโทษเป็นค่าปรับ ดังนี้

1. กรณีเจ้าของรถไม่ทำประกัน พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

2. กรณีคนที่ไม่ใช่เจ้าของรถ ขับขี่รถคันที่ไม่ได้ทำหรือไม่ได้ต่ออายุประกัน พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

3. กรณีที่เป็นเจ้าของรถไม่จัดทำประกันภัย พ.ร.บ. และได้นำรถคันนั้นไปใช้ ถือว่าผิดทั้ง 2 กระทง มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

มองหาสินเชื่อรถยนต์ ปิดบัญชี และรีไฟแนนซ์ ต้อง Carmarket
ติดต่อเราได้ที่
Facebook : คาร์มาร์เก็ต
Line : @carmarket
โทรสายด่วน : 080-446-9599